ประวัติและการต่อสู้


เกี่ยวกับชนัญชิดา (ชื่อเล่น เจี๊ยบ):

วันเกิด: 25 พฤษภาคม 2522
M: (66)9 7229 2345, (66)8 8545 1646
E: chanunchida.limnontakul@gmail.com
FB: /chanunchida.limnontakul
W: ChanunchidaAgenda.blogspot.com

ที่อยู่จังหวัดพิจิตร:
9 หมู่ 3, ตำบลเขาเจ็ดลูก, อำเภอทับคล้อ, จังหวัดพิจิตร 66150

คำขวัญ:
“ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า อหิงสาและกฎหมาย เป็นเครื่องมือต่อสู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนได้”

สถานะ:
มีบุตรสาว 2 คน ชื่อนางสาวชยุดา ลิ้มนนทกุล และเด็กหญิงชณธร ลิ้มนนทกุล
แต่งงานกับนายปรีดา ลิ้มนนทกุล

ความสนใจ และงานอดิเรก:
การทำอาหาร, การอบรมเพิ่มทักษะ,
อ่านนิตยสาร, การร้องเพลง, กดจุดที่เท้า

อาชีพปัจจุบัน:
นักปกป้องสิทธิมนุษยชน (คัดค้านเหมืองทองคำ จังหวัดพิจิตร) และแม่บ้าน

ตำแหน่งปัจจุบัน

1. กรรมการ และรองประธาน เครือข่ายประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ (ปปท.)
2. ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร บริษัท พีดับบลิวดี เอาท์ซอส เมเนจเมนท์ จำกัด (องค์กรไม่แสวงหากำไร) (บริษัททำงานด้านการส่งเสริมสิทธิและพัฒนาอาชีพให้กับคนพิการ)

การศึกษา

- จบ ปวช.สาขาพาณิชยการ, วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร อ.เมือง จ.พิจิตร (พ.ศ.2538-2540)
- จบ ม.3, โรงเรียนบ้านใหม่ราษฎร์ดำรง (โรงเรียนขยายโอกาส) ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ   จ.พิจิตร (พ.ศ.2535-2537)
- จบ ป.เตรียม - ป.6, โรงเรียนบ้านเขาหม้อ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร (พ.ศ.2527-2534)

คุณสมบัติส่วนตัวด้านการทำงาน
ทักษะ: สามารถบริหารการลดต้นทุน, สามารถวิเคราะห์ความต้องการทางการตลาด, สามารถเข้าใจกรอบงานของงานกิจการเพื่อสังคมต่างๆ

งานด้านสังคมและการพัฒนาอาชีพให้คนพิการ

2559—2563: งานจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าคนพิการ ตามแผนงาน “PWD FARWARD 2016-2020” หรือ “แผนการขจัดปัญหาการจ้างงานคนพิการแบบองค์รวม ระหว่างปี 2559-2563” (ประกอบด้วยแผนงานย่อยอีก 9 โครงการ)
2559: งานรณรงค์ให้ความรู้ด้านสิทธิคนพิการ แห่ง พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ในระดับพื้นที่จังหวัดต่างๆ
2558: งานโครงการกิจกรรมเส้นทางอาชีพด้าน ICT สำหรับคนพิการ, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2557-2558: งานฝึกอบรมฝึกงานคนพิการ ตามมาตรา 35 สำหรับสถานประกอบการต่างๆ จำนวน 9 แห่ง เช่น กลุ่มบริษัทเซ็นทรัล บริษัทสยามไดกิ้นเซลล์ บริษัทมาราธอน เป็นต้น

งานด้านปกป้องสิทธิมนุษยชน (คัดค้านการทำเหมืองทองคำ จังหวัดพิจิตร)

กิจกรรม “ด้วยรักและห่วงใย ปันน้ำใจสู่พิจิตร”:
บริจาคน้ำดื่ม ข้าวสาร อาหารแห้ง พืชผัก ผลไม้ สิ่งของสำหรับคนป่วยและคนพิการ
ครั้งที่ 4: วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559
ครั้งที่ 3: วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม 2559
ครั้งที่ 2: วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2558
ครั้งที่ 1: วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม 2558

กิจกรรมนิทรรศการ “ด้วยรักและห่วงใย ปันน้ำใจสู่พิจิตร”:
กิจกรรมให้ความรู้ถึงข้อมูลและผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำ กับประชาชนในเขตเมือง (กทม. และปริมณฑล) และรับบริจาคน้ำดื่ม ข้าวสาร อาหารแห้ง เพื่อนำไปให้ผู้ได้รับผลกระทบ
ครั้งที่ 1: ระหว่างวันที่ 12-14 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ตลาดบองมาเช่ ถนนเทศบาล-ประชาชื่น เขตจตุจักร กรุงเทพฯ

การยื่นหนังสือกับหน่วยงานภาครัฐในนามกรรมการ เครือข่าย ปปท.:
มกราคม - กุมภาพันธ์ 2559:
-ยื่นหนังสือถึงดีเอสไอ จำนวน 3 ครั้ง เพื่อสอบถามความคืบหน้าในการรับการร้องเรียนของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเป็นคดีพิเศษ (รับเป็นคดีพิเศษแล้ว)
-ยื่นหนังสือถึง ปปช. เป็นการรวบรวมหลักฐานสำคัญที่เป็นการกระทำความผิดละเว้นปฏิบัติหน้าของเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 3 ครั้ง

กันยายน - ธันวาคม 2558:
-ยื่นหนังสือถึงดีเอสไอ จำนวน 2 ครั้ง เพื่อสอบถามความคืบหน้าในการรับการร้องเรียนของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเป็นคดีพิเศษ
-ยื่นหนังสือถึง ปปช. ให้รับเรื่องการกระทำความผิดละเว้นปฏิบัติหน้าของเจ้าหน้าที่รัฐ กรณีเหมืองทองคำพิจิตร จำนวน 1 ครั้ง (ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนแล้ว)
-ยื่นหนังสือพร้อม 27,522 รายชื่อ ถึงนายกรัฐมนตรีคัดค้าน พรบ.แร่ ฉบับใหม่ และประกาศเจตนารมณ์ของเครือข่ายประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ

ลำดับสถานการณ์ขับเคลื่อน, ร้องทุกข์
ในนามผู้ได้รับผลกระทบรอบเหมืองทองคำ จังหวัดพิจิตร:
ปี 2557:
-เตรียมเอกสารเพื่อยื่นเรื่องคัดค้านการเข้าตลาดหลักทรัพย์ของผู้ประกอบการโลหะกรรมเหมืองแร่ทองคำ กับ กลต.


พฤศจิกายน 2556:
-ยื่นหนังสือถึงกระทรวงยุติธรรม
-ยื่นหนังสือให้กับนายอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร

ตุลาคม 2556:
 -ยื่นหนังสือถึงผู้ตรวจราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี
 (นายนพปฏดล เมฆเมฆา และนางสาวอัมพวัน เจริญกุล)
-ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา

กันยายน 2556:
 -ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
-ยื่นหนังสือถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน
-ประชุมคณะกรรมการไตรภาคีให้รับทราบเรื่องการออกใบอนุญาตให้ทิ้งกากแร่บ่อที่ 2 ได้

กรกฎาคม 2556:
-ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร พร้อมหน่วยงานภาครัฐ พาชาวบ้านไปตรวจสอบการลักลอบทิ้งกากแร่บ่อที่ 2 ภายในเหมืองทองคำ จังหวัดพิจิตร
-ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ให้ลงพื้นที่ตรวจสอบบ่อเก็บการแร่ที่ 2
-ยื่นหนังสือถึงกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 5 (ทางไปรษณีย์)
-กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เพชรบูรณ์ นัดพาชาวบ้านเข้าตรวจสอบภายในเหมืองแร่ทองคำ แต่ไม่สามารถเข้าได้
-เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เพื่อทวงถามเรื่องการเข้าตรวจสอบการทิ้งกากแร่บ่อที่ 2

ลำดับสถานการณ์ขับเคลื่อน, ร้องทุกข์:
ในนามผู้ได้รับผลกระทบรอบเหมืองทองคำ จังหวัดพิจิตร:

มิถุนายน 2556:

-ชาวบ้านเดินทางไปศาลากลางจังหวัดพิจิตร พบผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร (นายจักริน เปลี่ยนวงศ์) เพื่อทวงถามคำสัญญา (สืบเนื่องจาก วันที่ 1 พฤษภาคม 2556)
-เดินทางพบนายกรัฐมนตรี (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) แทนการยื่นหนังสือร้องเรียน (เนื่องจากถูกห้ามยื่นหนังสือ) และนายกรัฐมนตรีรับปากจะดูแลเรื่องผลกระทบให้

พฤษภาคม 2556:
 -ชาวบ้านเดินทางร่วมชุมนุมเรียกร้องการแก้ไขปัญหาการทำเหมืองทองคำ กับขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-MOVE)
-รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ลงพื้นที่รับฟังปัญหาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ

เมษายน 2556:
-ชาวบ้านเดินทางไปศาลากลางจังหวัดพิจิตร พบผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร (นายจักริน เปลี่ยนวงศ์) ด้วยการร้องทุกข์ด้วยวาจา

ลำดับสถานการณ์การขับเคลื่อนสำคัญ:
 ในนามผู้ได้รับผลกระทบรอบเหมืองทองคำ จังหวัดพิจิตร และ ปปท.:
 ก.ย. - ธ.ค. 2558 ถึงปัจจุบัน:
-แกนนำชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ และกำลังจะได้รับผลกระทบหลายจังหวัด รวมตัวกันจัดตั้ง “เครือข่ายประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ” เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนคัดค้าน พรบ.แร่ และการแก้ปัญหาผลกระทบจากกาทำเหมืองทองคำอย่างเร่งด่วน เป็นการขับเคลื่อนในระดับประเทศ เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดผลกระทบเสียหายในจังหวัดอื่นๆ
-ตนเองและครอบครัวตรวจพบสารโลหะหนักในร่างกาย

ปี 2555 - 2558:
-ร่วมกับชาวบ้านรอบเหมืองที่ได้รับผลกระทบ ร้องเรียนและยื่นหนังสือในนามกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบรอบเหมืองทองคำ จังหวัดพิจิตร เป็นการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ เพื่อนำความเดือดร้อนไปแจ้งกับผู้เกี่ยวข้องของหน่วยงานรัฐต่างๆ
-ดำเนินการคัดค้าน ฟ้องร้อง ตามกระบวนการยุติธรรม กับผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐต่างๆ

ปี 2551 - 2555:
-สังเกตเห็นสิ่งผิดปกติ และเก็บข้อมูล การเจ็บป่วยของชาวบ้านรอบเหมืองทองคำ
-สังเกตเห็นสิ่งผิดปกติในการทิ้งกากแร่ และการสร้างบ่อเก็บกากแร่บ่อที่ 2 (ห่างจากหน้าบ้านประมาณ 500 เมตร)
-ศึกษาข้อมูล และเข้าอบรมเรียนรู้ การได้รับผลกระทบจากสารโลหะหนัก และสารพิษไซยาไนต์ ต่อร่างกายมนุษย์และสิ่งมีชีวิต

ปี 2549:
-ครอบครัวย้ายจากหมู่ 9 ซึ่งใกล้กับการทำเหมืองแร่ทองคำในเฟสที่ 1 มาอยู่ หมู่ 3 เนื่องจากได้รับผลกระทบทางมลภาวะ ฝุ่นจากการระเบิด

ปี 2547:
-ข้าพเจ้าและครอบครัว เริ่มดื่มน้ำสะอาดที่บรรจุขวดแทนน้ำในพื้นที่ เนื่องจากสังเกตเห็นและรับรู้ถึงมลภาวะ ฝุ่นจากการระเบิด ต่างๆ

ปี 2544:
-มีการเปิดทำเหมืองทองคำ พื้นที่ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร

ลำดับสถานการณ์ต่อสู้ และขับเคลื่อน ตามกระบวนการยุติธรรม:
ในนามผู้ได้รับผลกระทบรอบเหมืองทองคำ จังหวัดพิจิตร:
กุมภาพันธ์ 2559:
-ฟังคำสั่งส่งฟ้องคดีหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา จากผู้ประกอบการโลหะกรรมเหมืองแร่ทองคำ ที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3; ผลการฟัง คือเลื่อนการพิจารณาครั้งที่ 4 ไปในเดือนมีนาคม 2559

มกราคม 2559:
-ยื่นคำร้องถอนฟ้องคดีอาญา หมายเลขดำที่ อ.1419/2555 กับ อธิบดี กพร. จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 4 คน เพื่อให้สำนักงาน และคณะกรรมการ ปปช. ดำเนินการต่อ เนื่องจากทาง ปปช. ได้มีคำสั่งตั้งไต่สวนจำเลย กรณีคิงส์เกทติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐอันเป็นคดีสำคัญระหว่างประเทศ

ธันวาคม 2558:
-ข้าพเจ้าได้ทำหนังสือร้องเรียนและนำส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการละเลยปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ ประกอบด้วยเอกสารแสดงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เอกสารทางคดีความ จำนวนกว่า 600 หน้า ให้กับ ปปช.
-ฟังคำสั่งส่งฟ้องคดีหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา จากผู้ประกอบการโลหะกรรมเหมืองแร่ทองคำ ที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3; ผลการฟัง คือเลื่อนการพิจารณาครั้งที่ 3 ไปในเดือนกุมภาพันธ์ 2559

ตุลาคม 2558:
-ฟังคำสั่งส่งฟ้องคดีหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา จากผู้ประกอบการโลหะกรรมเหมืองแร่ทองคำ ที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3; ผลการฟัง คือเลื่อนการพิจารณาครั้งที่ 2 ไปในเดือนธันวาคม 2558
-ยื่นหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมคดีหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา จากบริษัท ผู้ประกอบการโลหะกรรมเหมืองแร่ทองคำ กับอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 ที่สำนักอัยการพิเศษฯ

กรกฎาคม 2558:
-ได้รับหนังสือแจ้งอนุมัติค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเกี่ยวกับการพิสูจน์ เกี่ยวกับค่าวัสดุ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจร่างกาย หาสารปนเปื้อน ค่าพาหนะเดินทาง ไว้ใช้ในการต่อสู้คดี จาก ผอ.กองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ (นางจันทร์ชม จินตยานนท์)

กันยายน 2558:
-เดินทางไปรับทราบการส่งตัว คดีหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา จากผู้ประกอบการโลหะกรรมเหมืองแร่ทองคำ ที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 เพื่อรับทราบวันนัดฟังผลการพิจารณาครั้งที่ 1 ไปในเดือนตุลาคม 2558
-ทำหนังสือเลื่อนนัดรับทราบวันนัดส่งตัวสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 พร้อมใบรับรองแพทย์ ไปยัง ร.ต.ท.นพดล จำปีแขก (พงส.สน.ทุ่งมหาเมฆ)

กรกฎาคม 2558:
-ผู้แทนผู้ตรวจราชการแผ่นดิน ลงพื้นที่ตรวจตามเรื่องร้อยเรียนกรณีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ แต่ลงตรวจผิดวัตถุประสงค์ที่ได้ทำเรื่องร้องเรียนไป อีกทั้งยังไม่ได้มานัดพบข้าพเจ้าตามนัดหมาย ข้าพเจ้าจึงได้ทำการแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่ สภอ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ว่าผู้แทนผู้ตรวจฯ ปฏิบัติราชการผิดไปจากที่ร้องเรียน

มิถุนายน 2558:
-สำนักงานผู้ตรวจราชการแผ่นดิน ออกหนังสือแจ้งการลงพื้นที่ตรวจตามเรื่องร้อยเรียนกรณีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2558 มายังข้าพเจ้า

ม.ค. 2557 - ม.ค. 2558:
-ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำพิพากษาให้ไต่สวนมูลฟ้องจำเลย อธิบดี กพร. จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 4 คน ในคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
-ข้าพเจ้าอุทธรณ์คำพิพากษาศาลจังหวัดพิจิตร ที่ยกฟ้องจำเลย อธิบดี กพร. จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 4 คน ในคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
-ศาลจังหวัดพิจิตร มีคำพิพากษายกฟ้องจำเลย อธิบดี กพร. จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 4 คน ในคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

พฤษภาคม 2557:
-ศาลปกครองพิษณุโลก ได้มีคำพิพากษาคดีเกี่ยวกับหน่วยงานทางการปกครองและเจ้าหน้าที่รัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ เมื่อ 29 พ.ค.2557 ไว้ 11 ประเด็น โดยในประเด็นที่ 11 ศาลมีคำสั่งให้ยุติการเดินเครื่องจักรชั่วคราวจนกว่าจะดำเนินการให้เป็นไปตามการพิจารณาทางปกครองและมีคำสั่งอนุญาตตามกฎหมายอย่างถูกต้องครบถ้วน

ธันวาคม 2556:
-ยื่นหนังสือถึง กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เพื่อขอรับการสนับสนุนการให้บริการ หลักทรัพย์ในการปล่อยตัวชั่วคราว จากเงินกองทุนยุติธรรม เพื่อต่อสู้คดีถูกฟ้องคดีหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา จากผู้ประกอบการโลหะกรรมเหมืองแร่ทองคำ เนื่องจากข้าพเจ้าไม่มีหลักทรัพย์
-ถูกดำเนินคดีฟ้องคดีหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา จากผู้ประกอบการโลหะกรรมเหมืองแร่ทองคำ ที่ สน.ทุ่งมหาเมฆ กรุงเทพฯ และเข้าให้ปากคำ รับทราบข้อกล่าวหา
-ยื่นหนังสือถึง กองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เพื่อร้องทุกข์ขอความเป็นธรรมกรณีโรงงานเหมืองแร่ปล่อยสารพิษ

พฤศจิกายน 2556:
 -ยื่นหนังสือถึง คณะกรรมการบริหารกองทุนยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เพื่อขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนยุติธรรม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีเกี่ยวกับการพิสูจน์ เกี่ยวกับค่าวัสดุ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจร่างกาย หาสารปนเปื้อน ค่าพาหนะเดินทาง ไว้ใช้ในการต่อสู้คดี

ส.ค. 2555 - ก.ค. 2556:
 -ข้าพเจ้าและนายพินิจ สารภูมี ร่วมกันฟ้องคดีอาญาอธิบดี กพร. จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 4 คน ในคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีเหมืองแร่ทองคำ
-ยื่นหนังสือร้องเรียนถึง สำนักงานผู้ตรวจราชการแผ่นดิน เพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบกรณีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ

พฤษภาคม 2555:
 -ข้าพเจ้าได้เป็นผู้ร่วมฟ้องคดีศาลปกครองร่วมกับผู้เสียหาย 108 คน กับเจ้าหน้าที่รัฐและผู้เกี่ยวข้องรวมถึงผู้ประกอบการโลหะกรรมเหมืองแร่ทองคำ จำนวน 14 ราย ในเรื่อง “คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ”



หมายเหตุ: อัพเดทเมื่อ 7 มีนาคม 2559